Dental Bangkok | Dental Clinic Bangkok | Dentist Bangkok

ศูนย์ทันตกรรมทั่วไป

ศูนย์ทันตกรรมทั่วไป รักษากลิ่นปาก

ดูแลกลิ่นปาก ดูแลภาพลักษณ์ และรอยยิ้มให้ตัวเอง

รักษากลิ่นปาก

กลิ่นปาก หรือปากเหม็น หากใครประสบกับปัญหาเหล่านี้แน่นอนว่าจะทำให้ขาดความมั่นใจไม่น้อย นอกจากจะเป็นปัญหากับตัวเองแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหากับคนใกล้ชิดและคนรอบข้างอีกด้วย ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ไม่กล้าไปพบทันตแพทย์ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องน่าอาย แต่หากปล่อยไว้ ปัญหาก็อาจลุกลามบานปลายจนทำให้รักษาได้ยาก

สาเหตุ
ตรวจสอบว่ามีกลิ่นปากหรือไม่
ข้อควรปฏิบัติในการดูแลรักษาไม่ให้เกิดกลิ่นในช่องปาก
การรักษาผู้ที่มีปัญหากลิ่นปาก
เครื่องวัดระดับกลิ่นปาก เผยที่มาของกลิ่นไม่พึงประสงค์

คลินิกทันตกรรมบางกอกสไมล์ มี “เครื่องวัดระดับกลิ่นปาก” โดยตรวจวัดความเข้มข้นของก๊าซที่มีอยู่ในช่องปาก คือ ก๊าซที่มีส่วนประกอบของซัลเฟอร์ Volatile sulfur compound (VSCs) ที่เกิดจากแบคทีเรียในช่องปาก

Breath Clinic By TheraBreath

คลินิกรักษาผู้มีปัญหากลิ่นปาก ของบางกอกสไมล์ มีทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญที่ได้รับการอบรมจาก คลินิกรักษากลิ่นปากจากประเทศสหรัฐอเมริกา “แคลิฟอร์เนียเบรธคลินิก” ซึ่งเป็นคลินิกรักษากลิ่นปากที่มีชื่อเสียงจากประเทศสหรัฐอเมริกา ในการแก้ไขปัญหากลิ่นปาก ทันตแพทย์จะทำการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้คนไข้เกิดกลิ่นปาก ให้คำปรึกษา และวางแผนการรักษา ได้ตรงจุด โดยจะเป็นการรักษาทางด้านทันตกรรม และใช้ผลิตภัณฑ์รักษากลิ่นปาก เธอระเบรธควบคู่กับการรักษา เธอระเบรธ ช่วยระงับปัญหากลิ่นปากตลอด 24 ชั่วโมง มีสรรพคุณในการป้องกัน และรักษากลิ่นปากอย่างได้ผล


ศูนย์ทันตกรรมทั่วไปรักษารากฟัน

ดูแลรากฟัน ดูแลรากฐานของรอยยิ้มที่แข็งแรง

รักษากลิ่นปาก

การรักษารากฟัน คือ “โพรงประสาทฟัน” เป็นการรักษาประสาทฟันที่อักเสบ ทำให้อาการเจ็บปวดหายไป และยังสามารถเก็บรักษาฟันแท้ของคุณให้คงอยู่ต่อไป รักษารากฟัน

สาเหตุที่ต้องรักษารากฟัน

เนื่องจากการปล่อยให้ฟันผุเป็นเวลานานและไม่ได้รับการรักษา จนอักเสบลึกเข้าไปใกล้โพรงประสาทฟัน, ฟันแตก ฟันหัก หรือฟันมีรอยร้าว จากการบดเคี้ยวอาหาร หรือจากอุบัติเหตุ ทำให้เชื้อแบคทีเรียในน้ำลายเข้าไปในโพรงประสาทฟันและทำอันตรายต่อประสาทฟัน รวมทั้งโรคเหงือกอักเสบเรื้อรัง และการที่ฟันถูกกระแทกแรงๆ ก็ทำให้ส่วนปลายประสาทฟันตายได้ ทำให้เกิดการอักเสบเป็นหนองที่รากฟันตามมา และเริ่มมีอาการปวดฟัน โดยอาจจะปวดแบบเป็นๆ หายๆ ปวดเป็นระยะ หรือปวดอย่างรุนแรง ร่วมกับมีอาการเหงือกบวม รักษารากฟัน

ขั้นตอนการรักษารากฟัน
  1. กรอเปิดโพรงประสาท ทันตแพทย์ทำการฉีดยาชาเพื่อป้องกันและลดอาการปวด หลังจากนั้นจึงทำการเปิดโพรงประสาทฟันโดยการใช้เครื่องมือเจาะ เพื่อทำความสะอาดโพรงประสาทฟัน
  2. วัดความยาวและขยายโพรงประสาทฟัน เมื่อกรอเปิดโพรงประสาทฟันได้แล้ว ทันตแพทย์จะวัดความยาวและขยายโพรงประสาทฟันให้กว้างขึ้น เพื่อให้เครื่องมือเข้าไปทำความสะอาดได้อย่างสะดวก
  3. ทำความสะอาดโพรงประสาทฟัน จากนั้นทำความสะอาดด้วยการนำเครื่องมือที่มีลักษณะคล้ายเข็ม สอดเข้าไปในโพรงประสาทฟันเพื่อนำเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออก แล้วล้างทำความสะอาดกำจัดเชื้อโรค และใส่ยาฆ่าเชื้อไว้ในรากฟัน จากนั้นอุดปิดโพรงประสาทฟันชั่วคราว หากมีปัญหาที่ฟันหน้าจะใช้เวลาไม่นานเนื่องจากมีรากฟันเพียงรากเดียว แต่สำหรับฟันหลังต้องใช้เวลาในการทำความสะอาดนานเพราะมีจำนวนรากเยอะกว่า ดังนั้น ในขั้นตอนนี้ทันตแพทย์อาจจะต้องนัดมาทำหลายครั้ง จนกว่าจะทำความสะอาดได้ครบหมดทุกราก รักษารากฟัน
  4. อุดฟัน หลังจากทำความสะอาดภายในโพรงประสาทฟันจนสะอาดและปราศจากเชื้อแล้ว ทันตแพทย์จะทำการอุดภายในรากฟันให้แน่นและเต็มด้วยวัสดุอุดรากฟัน เพื่อไม่ให้มีช่องว่างสำหรับเชื้อโรค
  5. บูรณะฟันและตกแต่งฟัน ให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ดีเหมือนเดิม รักษารากฟัน

การรักษารากฟัน ปกติแล้วใช้เวลาในการรักษา 2-3 ครั้ง ในบางกรณีสามารถรักษาให้เสร็จภายในครั้งเดียวได้ หรืออาจต้องมาทำการรักษาหลายครั้งขึ้นอยู่กับสภาพฟัน


ศูนย์ทันตกรรมทั่วไปถอนฟัน

ถอนฟันกับมือโปร ยิ้มได้แบบไม่ต้องถอนหายใจ

ถอนฟัน
การถอนฟัน เหตุผลสำคัญที่ทันตแพทย์จำเป็นต้องทำการถอนฟัน คือ
ข้อควรปฎิบัติหลังการถอนฟัน

ศูนย์ทันตกรรมทั่วไปอุดฟัน

อุดฟันกับมือโปร ยิ้มได้แบบสบายใจ

อุดฟัน

การอุดฟัน คือวิธีการรักษาอาการฟันผุ ให้สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ ซึ่งทำได้โดยการที่กรอเอาเนื้อฟันส่วนที่ผุออกและทำความสะอาด จากนั้นจึงเติมวัสดุอุดฟันลงไป วัสดุที่ใช้ในการอุดฟันได้แก่ ทอง พอร์เซเลน คอมโพสิตเรซิน (การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน) และอมัลกัม (วัสดุอุดฟันทำจากโลหะปรอท เงิน ทองแดง และสังกะสี) หรือถ้าในกรณีที่ฟันผุมากอาจจะต้องอุดฟันด้วยวัสดุที่เป็นโลหะ


ศูนย์ทันตกรรมทั่วไปทันตกรรมสำหรับเด็ก

ดูแลรอยยิ้มเล็กๆ เพื่อให้เติบโตเป็นรอยยิ้มที่แข็งแรง

ทันตกรรมสำหรับเด็ก

ฟันน้ำนม...สำคัญอย่างไร
ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 เดือนและทยอยขึ้นจนครบ 20 ซี่ เมื่อลูกอายุ 2-3 ปี ซึ่งเป็นวัยที่ยังไม่สามารถดูแลสุขภาพฟันได้ด้วยตนเอง ผู้เลี้ยงดูจึงมีบทบาทสำคัญที่ทำให้ลูกมีสุขภาพฟันดี หน้าที่ของฟันน้ำนมนอกจากใช้บดเคี้ยวและให้ความสวยงามแล้ว ยังช่วยพัฒนาการออกเสียง ช่วยกระตุ้นให้การเจริญเติบโของขากรรไกรและใบหน้าเป็นไปตามปกติ และช่วยกันที่ไว้ให้ฟันถาวรขึ้นอย่างปกติ การมีฟันเคี้ยวอาหารได้ละเอียดจะส่งผลดีต่อระบบทางเดินอาหารและการเจริญ เติบโตของร่างกาย

ฟันน้ำนมผุต้องรักษาหรือไม่
เนื่องจากความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องว่าฟันน้ำนมอยู่ไม่นานและไม่สำคัญ ผู้ปกครองจึงมักไม่สนใจดูแลฟันน้ำนมของลูกอย่างจริงจัง แต่ความจริงแล้วฟันน้ำนมมีความสำคัญอย่างยิ่งในวัยเด็กของลูก โดยซี่แรกเริ่มหลุดไปเมื่อลูกอายุ 6 ปี แต่จะทยอยหลุดครั้งละ 1-2 ซี่ จนกระทั่งซี่สุดท้ายเมื่ออายุ 12 ปี ถ้าฟันน้ำนมผุแล้วไม่รักษา อาจทำให้การติดเชื้อลุกลามไปสู่ฟันแท้ที่อยู่ข้างใต้ เกิดถุงหนองที่ปลายรากฟันหรือบวมบริเวณแก้มและคาง ซึ่งเป็นอันตรายมากหากไม่รีบรักษา การสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นมีผลให้ฟันแท้ขึ้นไม่ตรงตำแหน่ง และเด็กที่มีฟันน้ำนมผุมีโอกาสที่จะมีฟันแท้ผุมากกว่าเด็กที่ไม่มีฟันน้ำนมผุ นอกจากนี้ เด็กที่มีฟันน้ำนมดีจะไม่กลัวหมอฟัน ดังนั้นการดูแลป้องกันไม่ให้เด็กมีฟันผุ จะทำให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการทำฟันเพราะเด็กไม่ต้องทรมานจากการปวดฟันและการรักษาที่ยุ่งยาก

ฟันน้ำนม... แปรงอย่างไร
ควรเลือกแปรงขนนุ่ม ขนาดเหมาะสมกับช่องปากของเด็กแต่ละวัย ด้ามแปรงจับได้ถนัด และใช้ยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์ ซึ่งช่วยป้องกันฟันผุได้ 20 - 40%โดยบีบยาสีฟันขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว วิธีการแปรงฟันที่เหมาะสมสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี คือ Scrub - technique โดยวางขนแปรงตั้งฉากกับตัวฟันแล้วขยับขนแปรงไปมาสั้น ๆ ในแนวนอน นับ 1ถึง10 ในแต่ละบริเวณ ทำซ้ำจนทั่วทุกซี่ในช่องปาก และต้องแปรงลิ้นด้วยทุกครั้ง นอกจากนี้ในบริเวณที่ฟัน 2 ซี่ มาประชิดกันควรใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วยอย่างสม่ำเสมอ "ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง"

ปริมาณยาสีฟันที่แนะนำในแต่ละช่วงวัย
อายุ 6เดือน-1ขวบครึ่ง ปริมาณยาสีฟันแตะพอชื้น
อายุ 1ขวบครึ่ง-3ขวบ ปริมาณยาสีฟันเท่าเมล็ดถั่วเขียว
อายุ3ขวบ-6ขวบ ปริมาณยาสีฟันเท่าเมล็ดข้าวโพด
อายุ6ขวบขึ้นไป ปริมาณยาสีฟันครึ่งเซนติเมตร

ฟลูออไรด์....ตัวช่วยให้ฟันแข็งแรง การใช้ฟูลออไรด์นั้น มีทั้งชนิดรับประทานและเคลือบที่ผิวฟัน แต่ต้องใช้ในปริมาณเหมาะสมถูกต้องตามอายุ และปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม ประโยชน์คือ ฟลูออไรด์จะเข้าไปสะสมในชั้นผิวเคลือบฟันทำให้ฟันมีความต้านทานต่อการเกิดฟันผุได้ดีขึ้น
การเคลือบฟลูออไรด์สามารถทำได้ทั้งในฟันน้ำนมและฟันถาวร ดังนั้น ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อการรับฟลูออไรด์ที่เหมาะสมในเด็กแต่ละวัย

ข้อปฏิบัติเพื่อหนูน้อยฟันดี

ศูนย์ทันตกรรมทั่วไปฟันปลอม

ทดแทนฟันแท้ด้วยฟันปลอมคุณภาพ เพราะรอยยิ้มดีๆไม่มีช่องว่าง

ฟันปลอม

ฟันปลอม คือ ฟันเทียมที่มาทดแทนฟันของเราที่สูญเสียไป เพื่อให้ใช้งานได้ใกล้เคียงฟันแท้

ฟันปลอม มี 2 ชนิด คือฟันปลอมถอดได้ และฟันปลอมติดแน่น

1.ฟันปลอมถอดได้

ฟันปลอมแบบถอดได้นั้น เหมาะกับการใส่ฟันหลาย ๆ ซี่ หรือใส่ทันทีที่ถอนฟัน โดยการใช้โครงเป็นตัวยึดและตัวฟันปลอมวางไว้บนเหงือก ฟันปลอมชุดนี้มาหลายแบบ มีทั้ง

- แบบชั่วคราว Temporary Plate ( TP) ที่เห็นเป็นพลาสติกสีชมพูแทนเหงือกและตัวฟันเป็นอครีลิคสีเดียวกับฟัน อายุการใช้งาน อยู่ที่ 3-6 เดือนก็อาจจะต้องมาปรับให้แน่นขึ้นหรือทำชุดใหม่

ข้อดีของฟันปลอมชุดนี้คือ

* มีราคาถูก
* ไม่มีการทำลายหรือกรอฟันที่เหลืออยู่แต่อย่างได
* ถอดมาทำความสะอาดได้ง่าย

ข้อเสีย

* คือคนไข้อาจรำคาญถอดเข้าถอดออก ละอาจอึดอัดเพราะมีขนาดใหญ่อยู่ในช่องปากและแรกๆคนไข้อาจไม่ชิน
* ต้องมาพบหมอบ่อยๆเพื่อปรับจนกว่าจะใช้งานได้ไม่กดเหงือกเจ็บ
* มีโอกาสฟันโยกเป็นโรคเหงือกและฟันผุหากดูแลรักษาไม่ดี

- แบบถาวร Removable Partial Denture เป็นฟันปลอมแบบถอดได้เหมือนกันแต่วัสดุและประสิทธิภาพ รวมทั้งอายุการใช้งาน นานกว่า มีราคาสูงกว่า ขั้นตอนการทำ ยุ่งยาก ต้องทำโดยทันตแพทย์เฉพาะทางด้านใส่ฟัน ราคาขึ้นอยู่กับวัสดุ

- ฟันปลอมทั้งปาก Full Denture เช่นกันค่ะ ราคาขึ้นอยู่กับวัสดุ ขั้นตอนยุ่งยากต้องมาพบหมอบ่อยๆ และทำโดยทันตแพทย์เฉพาะทาง

2.ฟันปลอมชนิดติดแน่น

มีหลักการคือจำเป็นต้องกรอฟันบางส่วนออกเพื่อทำครอบฟันทับฟันซี่ที่มีปัญหา หรือ ที่เรียกว่า ครอบฟัน (Crown) แต่ถ้าถอนฟันบางซี่ไปแล้วมีช่องว่างฟันเกิดขึ้น จะต้องกรอฟันที่อยู่หัวและท้ายของช่องว่างเพื่อเป็นหลักยึดสำหรับฟันที่จะทดแทนในช่องว่าง เรียกว่า การทำ สะพานฟัน (Bridge)

2.1 ครอบฟัน ก็คือ ฟันปลอมเฉพาะซี่ที่สวมทับลงบนตัวฟันที่ได้รับการกรอแต่งโดยรอบเพื่อให้เป็นที่อยู่ของครอบฟัน คนไข้ที่แนะนำทำครอบฟัน

2.2 สะพานฟันติดแน่น หรือ Bridge เป็นกาครอบฟันเช่นกัน ในกรณีคนไข้มีการสูญเสียฟันซี่ไดซี่หนึ่งไป สามารถครอบฟันได้ โดยการกรอฟันหัวและท้ายเป็นสะพานเพื่อยึดกับฟันที่หายไป เช่น มีฟันหาย ไป 1 ซี่ จะต้องกรอฟัน2 ซี่เพื่อยุดฟันซี่ตรงกลาง กลายเป็นการทำสะพานฟัน ติดแน่ 3 ซี่ ค่ะ การรักษาและพบแพทย์ ยุ่งยากกว่าการทำครอบ1 ซี่ 5-7 วันเช่นกัน


ศูนย์ทันตกรรมทั่วไปรักษาโรคปริทันต์

ดูแลอาการเหงือกอักเสบก่อนลุกลาม ให้รอยยิ้มสะอาดสดใสเป็นของคุณตลอดไป

ฟันปลอม

“โรคปริทันต์” (Periodontal Disease) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “รำมะนาด” หรือ”โรคเหงือกอักเสบ” โรคปริทันต์นั้นไม่ได้เกิดจากการอักเสบของเหงือกเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการอักเสบของอวัยวะรอบๆฟันได้เช่นกัน ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคปริทันต์จึงมักมีอาการฟันโยก และมีกลิ่นปากร่วมกับอาการเหงือกอักเสบด้วย

สาเหตุของโรค

เกิดจากการสะสมของแบคทีเรียภายในช่องปากเนื่องจากการทำความสะอาดช่องปากไม่ดีพอ ทำให้มีเศษอาหารตกค้างทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรีย ที่เราเรียกกันว่า “แผ่นคราบจุลินทรีย์” (Plaque) เมื่อเวลาผ่านไป ก็จะเกิดการตกตะกอนของแร่ธาตุจาก น้ำลาย และน้ำที่อยู่ในร่องเหงือก จนกลายเป็น “หินน้ำลาย” หรือ “หินปูน” และมีเชื้อแบคทีเรียเป็นตัว กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ ผลคือทำให้ เหงือกอักเสบ บวมแดง มีเลือดออก และมีกลิ่นปาก

อาการของโรค
  1. มีเลือดออกขณะแปรงฟัน
  2. เหงือกบวมแดง
  3. มีกลิ่นปาก
  4. เหงือกร่น
  5. อาจมีหนองออกตามร่องเหงือก
  6. ฟันโยก
ขั้นตอนการรักษา

การรักษาจะเริ่มต้นด้วยการขูดหินปูน และเกลารากฟัน (root planing) คือการทำให้ผิวรากฟัน เรียบ เป็นการกำจัดคราบจุลินทรีย์ และหินปูนที่เกาะบนผิวรากฟันให้สะอาด หลังจากรักษาเสร็จแล้วประมาณ 4 - 6 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะนัดกลับมาดูอาการอีกครั้ง ว่าหายดีหรือไม่ และถ้ายังมีร่องลึกปริทันต์เหลืออยู่เนื่องจากมีการละลายของกระดูกไปมาก อาจจำเป็นต้อง ได้รับการผ่าตัด (ศัลยปริทันต์ : Periodontal Surgery) ร่วมด้วย และเพื่อป้องกันไม่ให้โรคปริทันต์กลับมาอีกควร แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอน หรือทุกครั้งหลังอาหาร และใช้ไหมขัดฟัน ควรหลีกเลี่ยงอาหารหวาน ๆ และควรพบทันตแทพย์ ทุกๆ6เดือนเพื่อตรวจสภาพเหงือกและฟัน

ขูดหินปูน

หินปูน คือ แผ่นคราบจุลินทรีย์ที่แข็งตัว เพราะมีธาตุแคลเซียมจากน้ำลายเข้าไปตกตะกอน เกิดจากสารแคลเซียมที่มากับน้ำลายมาเจอกับสารพวกแป้งเร่งให้มีรวมตัวกันตกตะกอนลงมาเกาะกับผิวฟัน ทำให้เกิดแผ่นคราบจุลินทรีย์ หรือ Bacterial plaque คือ คราบสีขาวขุ่นนิ่ม ที่ประกอบด้วยเชื้อโรคที่ติดอยู่บนตัวฟัน แม้ว่าจะแปรงฟันหรือบ้วนปากก็ไม่สามารถหลุดออกได้ ซึ่งหินปูนเหล่านี้จะทำ ให้เกิดภาวะเหงือกอักเสบ ทำให้เหงือกร่นซึ่งทำให้เกิดอาการเสียวฟันตามมาได้ หรือทำให้เป็นโรคเหงือกอักเสบขั้นรุนแรงที่ เรียกว่า “โรคปริทันต์” ได้
โดยการขูดหินปูนสามารถทำได้
โดยไม่มีผลเสียกับฟัน แนะนำให้ขูดหินปูนทุก ๆ 6เดือน

การขัดฟัน

เป็นการขัดคราบหลังจากการขูดหินปูนออกแล้ว เพื่อทำให้ฟันมีความลื่นและทำให้คราบหินปูนหรือหินน้ำลายกลับมาเกาะติดได้ยากขึ้น ซึ่งคราบเหล่านั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องโรคเหงือกตามมา นอกจากนั้นยังทำให้ฟันดูขาวขึ้นระดับหนึ่งด้วย


ข้อมูลส่วนตัว

Bangkok Dental | Bangkok Dentist | Bangkok Dental Clinic